เวทีเสวนา | TH | EN |
หัวข้อเสวนา | เทคโนโลยีดิจิทัล: เครื่องมือในการเชื่อมโยงมรดกทางวัฒนธรรมกับชุมชน | |||||
ผู้ดำเนินรายการ | รศ.ดร.นฤมล อรุโณทัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |||||
ชื่อผลงาน | เวทีเสวนานี้มุ่งสำรวจบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในการเปลี่ยนโฉมวิธีการนำเสนอมรดกทางวัฒนธรรมและการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนกับเรื่องราวทางวัฒนธรรม ผู้นำเสนอจะแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ การจัดแสดงผลงานศิลปะดิจิทัล และนิทรรศการแบบอินเตอร์แอคทีฟ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสาธารณชนและการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรม - การนำเสนอภาพพิพิธภัณฑ์บนแพลตฟอร์ม TikTok @pegikemana: บทวิเคราะห์บทบาทและการสื่อสารของอินฟลูเอนเซอร์ด้านมรดกทางวัฒนธรรม - ผศ. จีวุก มูเซียนา ยุทธาวัสติ ผศ.จีวุก มูเซียนา ยุทธาวัสติ จากมหาวิทยาลัยภยังการา จาการ์ตา รายา วิเคราะห์บทบาท ของอินฟลูเอนเซอร์ด้านมรดกวัฒนธรรมบนสื่อสังคมออนไลน์ โดยมุ่งเน้นกรณีศึกษาบัญชี TikTok @pegikemana การนำเสนอนี้มุ่งวิเคราะห์ว่าอินฟลูเอนเซอร์สามารถขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของสาธารณชนกับแหล่งมรดกวัฒนธรรมผ่านการเล่าเรื่องด้วยภาพและการตลาดเชิงสังคมได้อย่างไร อันนำไปสู่มุมมองใหม่ ๆ ในการนำเสนอภาพลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์ - การมีส่วนร่วมทางดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน: กรณีศึกษาปากคลองตลาด - ผศ. ดร. สุพิชชา โตวิวิชญ์ ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร จะนำเสนอผลกระทบของการติดตั้งผลงานศิลปะดิจิทัลที่มีต่อการฟื้นฟูปากคลองตลาด ตลาดดอกไม้ชื่อดังของกรุงเทพมหานคร การนำเสนอนี้จะชี้ให้เห็นว่านวัตกรรมดิจิทัลสามารถเสริมพลังให้แก่ผู้ค้าในท้องถิ่น ดึงดูดคนรุ่นใหม่ และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งอภิปรายถึงความท้าทายในการรับมือกับกระบวนการ เจนทริฟิเคชัน (gentrification) หรือการแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น นิทรรศการแบบอินเตอร์แอคทีฟ: โอกาสและความท้าทาย - ดร.ญี หวู ห่ง ดร.ญี หวู ห่ง จากพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาเวียดนาม จะสำรวจความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ต่อนิทรรศการแบบอินเตอร์แอคทีฟที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมและโต้ตอบได้ การนำเสนอนี้กล่าวถึงความจำเป็นของการออกแบบนิทรรศการให้มีปฏิสัมพันธ์หลากหลายมิติกับผู้ชม สภาพการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นระหว่างพิพิธภัณฑ์กับแหล่งเรียนรู้และสถานบันเทิงรูปแบบอื่น ตลอดจนความท้าทายที่พิพิธภัณฑ์ต้องเผชิญในการสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ทั้งเสริมสร้างคุณค่า ให้ความรู้ และรักษาความถูกต้องทางวิชาการไปพร้อมกัน ภาษาในการนำเสนอ: ภาษาอังกฤษ |
|||||
ประวัติย่อผู้ดำเนินรายการ | รศ.ดร.นฤมล อรุโณทัย นักวิจัยด้านมานุษยวิทยาผู้มีประสบการณ์การสอนและวิจัยมากกว่า 30 ปี ปัจจุบันเป็นนักวิจัยประจำสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUSRI) และอาจารย์พิเศษประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานวิจัยของ รศ.ดร.นฤมล ครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับชนพื้นเมือง องค์ความรู้ท้องถิ่น มรดกทางวัฒนธรรม และการพัฒนาทางเลือก ส่งผลให้ รศ.ดร. นฤมล เป็นผู้นำทางความคิดที่สำคัญในประเด็นดังกล่าว |
|||||