เวทีเสวนา TH | EN

  หัวข้อเสวนา การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับพิพิธภัณฑ์  
  ผู้ดำเนินรายการ ผศ.ดร.นพดล กิตนะ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
  ชื่อผลงาน

     เวทีเสวนานี้มุ่งสำรวจบทบาทเทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ ผู้นำเสนอจะแบ่งปันวิธีการที่เป็นนวัตกรรมเพื่อเพิ่มการเข้าถึงผ่านสื่อดิจิทัล ความท้าทาย และโอกาสที่เกิดขึ้นในบริบทของแนวปฏิบัติของพิพิธภัณฑ์ในช่วงเวลาแห่งความท้าทาย

- การพัฒนาแอปพลิเคชัน NSM AR: ช่องทางเข้าถึงแบบดิจิทัลสำหรับทุกคนอานุภาพ สกุลงาม

     อานุภาพ สกุลงาม จากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประเทศไทย จะนำเสนอกระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชัน AR ที่ช่วยเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าชมกับนิทรรศการผ่านการนำเทคโนโลยีมาผสานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริง ทำให้เนื้อหาทางวิทยาศาสตร์มีความน่าสนใจและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น การนำเสนอนี้จะเผยให้เห็นถึงศักยภาพของเครื่องมือดิจิทัลในการเปลี่ยนแปลงประสบการณ์การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แบบดั้งเดิม พร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้และความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์

- โอกาสและความท้าทายของเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับพิพิธภัณฑ์ในยุคสมัยแห่งความท้าทายจูเลีย คิม-เดวีส์

     จูเลีย คิม-เดวีส์ จากยูเนสโก ประเทศไทย จะอภิปรายถึงลักษณะสองด้านของเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งในฐานะที่เป็นโอกาสและความท้าทายสำหรับพิพิธภัณฑ์ โดยอ้างอิงข้อมูลจากการสำรวจในระดับโลกของยูเนสโก เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของเครื่องมือดิจิทัลต่อการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ในช่วงสถานการณ์วิกฤต พร้อมนำเสนอกรณีศึกษาเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงและโครงการมรดกร่วมซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเชื่อมโยงและความตระหนักทางวัฒนธรรม

- กรณีศึกษาเรื่องการแปลงข้อมูลคอลเลกชันผึ้งไทยในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลภากร นลินรชตกัญจน์

   ภากร นลินรชตกัญจน์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอโครงการแปลงข้อมูลคอลเลกชันผึ้งไทยให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล โดยการจัดทำฐานข้อมูลดิจิทัลที่ครอบคลุมนี้เป็นร่วมกับระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก (GBIF) โครงการนี้ช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยในระดับโลกและเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาการผสมเกสรของผึ้ง การนำเสนอนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการปรับกระบวนการจัดทำฐานข้อมูลดิจิทัลให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่น

ภาษาในการนำเสนอ: ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
วัน / เวลา: 12-09-2024 / 13.40-15.10 น.
ห้อง: เลอ คองคอร์ด บอลรูม

 
  ประวัติย่อผู้ดำเนินรายการ

     ดร. นพดล กิตนะ เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสาขาวิชาชีววิทยา และผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค (CLNR) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในบทบาทนี้ ดร. นพดล มีหน้าที่กำกับดูแลโครงการระดับภูมิภาคของมหาวิทยาลัยในจังหวัดน่านและสระบุรี ระหว่าง ค.ศ. 2012 กับ ค.ศ. 2020  ดร.นพดล ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีหน้าที่ในการประสานงาน กำกับดูแล และบริหารจัดการพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ปัจจุบัน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค ดร.นพดล มีหน้าที่กำกับดูแลกิจกรรมของพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งน่าน  และหอแสดงผลงานศิลปะและสินทรัพย์ทางธรรมชาติ จังหวัดสระบุรี

 


 
 
เลขที่ 4 ถนนสนามไชย
พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ : 02 225 2777
โทรสาร : 02 225 2775
สื่อสังคมออนไลน์

 หน้าหลัก

 เกี่ยวกับการประชุม

 กำหนดการ

 ข่าวสาร

 ระบบลงทะเบียน

 ติดต่อเรา

รูปแบบการประชุม
ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาไทย
ในการนำเสนอและการอภิปราย
โดยมีล่ามแปลภาษา
ไม่เสียค่าใช้จ่าย ในการลงทะเบียน
รองรับผู้เข้าร่วมประชุม 200 คน

 

สอบถามข้อมูล
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
อีเมล chewasit@ndmi.or.th
โทร. 02 225 2777 ต่อ 429
ฆัสรา มุกดาวิจิตร
อีเมล kusra@ndmi.or.th
โทร. 02 225 2777 ต่อ 429

 

 
Ⓒ Copyright 2015 National Discovery Museum Institute, All right Reserved.