องค์ปาฐก TH : EN
องค์ปาฐก ผศ.ดร. สุคนธ์เมธ จิตรมหันตกุล
อีเมล sukonmeth.j@chula.ac.th
หน่วยงาน ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาษาในการนำเสนอ ภาษาอังกฤษ
วัน/เวลา 12-09-2024 / 13.20-13.40 น.
ห้อง เลอ คองคอร์ด บอลรูม
 
ชื่อผลงาน ผู้ช่วยเสมือนจริงในรูปแบบแชทบอทสำหรับพิพิธภัณฑ์: เรื่องราวของแชทบอท “น้องน้ำดอกไม้”
บทคัดย่อ

   “น้องน้ำดอกไม้" เป็นผู้ช่วยเสมือนจริงในรูปแบบแชทบอทบนมือถือที่ประหยัดต้นทุน ได้รับพัฒนาขึ้นสำหรับพิพิธภัณฑ์ท้องทะเลดึกดำบรรพ์บ้านโภชน์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นแหล่งรวมซากดึกดำบรรพ์ทางทะเลจำนวนมากจากยุคเพอร์เมียน (อายุมากกว่า 200 ล้านปี) พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ประกอบด้วยแหล่งซากดึกดำบรรพ์กลางแจ้ง 8 แห่ง บริหารจัดการโดยเทศบาลตำบลบ้านโภชน์ร่วมกับชุมชนท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่จัดแสดงที่เต็มไปด้วยคอลเลกชันซากดึกดำบรรพ์จำนวนมาก ป้ายข้อมูลแบบดั้งเดิม จำนวนมัคคุเทศก์ที่จำกัด ข้อจำกัดด้านงบประมาณ และระยะห่างระหว่างแหล่งซากดึกดำบรรพ์แต่ละแห่ง ส่งผลให้ผู้เข้าชมมักไม่รู้สึกมีส่วนร่วมในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์

   นับตั้งแต่ ค.ศ. 2022 "น้องน้ำดอกไม้" ซึ่งตั้งชื่อตามมะม่วง “น้ำดอกไม้” อันเลื่องชื่อของภูมิภาคนี้ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้เข้าชมให้สามารถสำรวจพิพิธภัณฑ์ด้วยตนเองผ่านข้อความเสียง AI ที่เป็นมิตร พร้อมทั้งนำเสนอโมเดล AR ของซากดึกดำบรรพ์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมบนโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ "น้องน้ำดอกไม้" ยังมีส่วนสำคัญในการประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์และสนับสนุนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในการทบทวนความรู้และปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย นอกจากนี้ ภัณฑารักษ์ยังสามารถนำข้อมูลที่รวบรวมจากการโต้ตอบบนมือถือ ไปใช้วางแผนกิจกรรมในอนาคตได้อีกด้วย

   การบรรยายในครั้งนี้จะเล่าถึงเรื่องราวเส้นทางแห่งความสำเร็จของ "น้องน้ำดอกไม้" ตั้งแต่แนวคิดเริ่มต้นจนถึงการนำไปใช้งานจริง เพื่อแบ่งปันบทเรียนอันมีค่าที่ได้เรียนรู้มา ซึ่งพิพิธภัณฑ์อื่น ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

ประวัติย่อ

   ดร. สุคนธ์เมธ จิตรมหันตกุล เป็นนักธรณีวิทยาผู้มีความคิดสร้างสรรค์ และเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร. สุคนธ์เมธ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในเรื่องการบูรณาการวิธีการสอนที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ากับการศึกษาด้านธรณีศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจำลองภาพเสมือน (VR) และเทคโนโลยีที่นำสิ่งเสริมเข้ามาในสภาพแวดล้อมแบบเสมือน (AR) ทั้งนี้เพื่อยกระดับประสบการณ์การเรียนรู้ในห้องเรียนและภาคสนาม ทำให้แนวคิดทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อนสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และมีความน่าสนใจสำหรับนักศึกษา นอกจากนี้ ดร. สุคนธ์เมธ ยังได้ขยายความเชี่ยวชาญไปสู่วงการพิพิธภัณฑ์ โดยใช้เทคโนโลยี VR และ AR ในการจัดแสดงนิทรรศการที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์และให้ประสบการณ์ของผู้เข้าชม ทำให้ธรณีวิทยาเชิงประวัติศาสตร์มีชีวิตชีวาสำหรับผู้เข้าชมมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นผู้ร่วมสร้าง "น้องน้ำดอกไม้" ผู้ช่วยเสมือนจริงในรูปแบบแชทบอทบนโทรศัพท์มือถือ ที่ใช้งานง่ายสำหรับพิพิธภัณฑ์ท้องทะเลดึกดำบรรพ์บ้านโภชน์ จังหวัดเพชรบูรณ์


 
 
เลขที่ 4 ถนนสนามไชย
พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ : 02 225 2777
โทรสาร : 02 225 2775
สื่อสังคมออนไลน์

 หน้าหลัก

 เกี่ยวกับการประชุม

 กำหนดการ

 ข่าวสาร

 ระบบลงทะเบียน

 ติดต่อเรา

รูปแบบการประชุม
ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาไทย
ในการนำเสนอและการอภิปราย
โดยมีล่ามแปลภาษา
ไม่เสียค่าใช้จ่าย ในการลงทะเบียน
รองรับผู้เข้าร่วมประชุม 200 คน

 

สอบถามข้อมูล
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
อีเมล chewasit@ndmi.or.th
โทร. 02 225 2777 ต่อ 429
ฆัสรา มุกดาวิจิตร
อีเมล kusra@ndmi.or.th
โทร. 02 225 2777 ต่อ 429

 

 
Ⓒ Copyright 2015 National Discovery Museum Institute, All right Reserved.