ผู้นำเสนอ TH | EN
ผู้นำเสนอ ภัทรพร ภู่ทอง
อีเมล museumdeepsouth@gmail.com
สังกัด โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุจังหวัดชายแดนใต้
คณะทำงาน ผศ. ดร. แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง และ วลัย บุปผา
ภาษาในการนำเสนอ ภาษาอังกฤษ
วัน/เวลา 12-09-2024 / 15:30-17:00 น.
ห้อง เลอ คองคอร์ด บอลรูม
 
ชื่อผลงาน สถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรง ความทรงจำที่ไม่อาจลบเลือน และความเป็นไปได้ของพิพิธภัณฑ์เพื่อสันติภาพ: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุจังหวัดชายแดนใต้
บทคัดย่อ

      การนำเสนอนี้มุ่งสำรวจศักยภาพของการประยุกต์ใช้แนวคิดพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุเพื่อส่งเสริมความยุติธรรม ในฐานะองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการสร้างสันติภาพในบริบทของสถานการณ์ความขัดแย้งที่ยังดำเนินอยู่ โดยวิเคราะห์ความเหมาะสมและประสิทธิผลของแนวทางดังกล่าวในการสนับสนุนกระบวนการสันติภาพ ทั้งนี้ ความขัดแย้งรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยมีลักษณะเป็นการต่อสู้อันยืดเยื้อระหว่างกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่มีแนวคิดชาตินิยมเชิงชาติพันธุ์และกองทัพไทย โดยมีรากเหง้าย้อนไปกว่าหนึ่งศตวรรษ สถานการณ์ความขัดแย้งนี้ทวีความรุนแรงขึ้นนับตั้งแต่ ค.ศ. 2004 อันเป็นผลมาจากความไม่พอใจเกี่ยวกับอัตลักษณ์มลายู-มุสลิม การสูญเสียอำนาจการปกครองตนเองในอดีต ข้อกล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และนโยบายที่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามทั้งทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ แม้จะมีความพยายามในการเจรจาสันติภาพ และริเริ่มโครงการพัฒนาเศรษฐกิจหลายครั้ง แต่ประเด็นหลักเกี่ยวกับอัตลักษณ์ ความอยุติธรรม และการบังคับกลืนกลายทางวัฒนธรรมยังคงไม่ได้รับการแก้ไข

     ค.ศ. 2020 ได้มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งร่วมกันก่อตั้งโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุจังหวัดชายแดนใต้ โดยมุ่งเน้นเหตุการณ์สังหารหมู่ที่เกิดขึ้นในอำเภอตากใบเมื่อ ค.ศ. 2004 เป็นกรณีศึกษานำร่อง วัตถุประสงค์หลักคือการรวบรวมหลักฐานทั้งหมดและนำเสนอเรื่องราวเหล่านั้นในฐานะเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญต่อสังคม มิใช่เพียงเรื่องราวส่วนบุคคลที่แยกส่วน โดยมุ่งหมายที่จะสื่อสารถึงประเด็นความรุนแรงโดยไม่ต้องนำเสนอภาพความรุนแรงโดยตรง และหลีกเลี่ยงการสร้างเรื่องเล่าที่เน้นอารมณ์สะเทือนใจ แต่เน้นการนำเสนอข้อเท็จจริง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้เกิดบทสนทนาภายในจิตใจของตนเองหรือระหว่างกันและกัน 

     ทั้งนี้ โครงการนี้เผชิญความท้าทายหลายประการ อาทิ  การระดมทุน การเข้าถึงเอกสารราชการ และการสร้างความไว้วางใจกับครอบครัวผู้เสียหาย นอกจากนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังส่งผลให้การปฏิบัติงานภาคสนามมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น จำเป็นต้องพึ่งพานักวิจัยในพื้นที่ นิทรรศการแรกภายใต้ชื่อ "สดับเสียงเงียบ จดจำตากใบ 2004" (Heard the Unheard: Takbai 2004) ซึ่งจัดแสดงเมื่อ ค.ศ. 2023 ได้เดินทางไปจัดแสดงในสถานที่ต่าง ๆ และได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากสาธารณชนและสื่อมวลชน ซึ่งทางโครงการฯ ได้รับข้อเสนอแนะให้นำนิทรรศการกลับไปจัดแสดงในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น  การนำเสนอนี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์ความท้าทายและศักยภาพของพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุในการส่งเสริมความยุติธรรม โดยทำหน้าที่เป็นพื้นที่สาธารณะในการขยายเสียงของผู้ได้รับผลกระทบ สร้างบทสนทนา และตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน อันเป็นการสนับสนุนกระบวนการสันติภาพ แม้ในบริบทของความขัดแย้งที่ยังคงดำเนินอยู่

 
ประวัติย่อ

     ภัทรพร ภู่ทอง แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง และ วลัย บุปผา เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุจังหวัดชายแดนใต้, ภัทรพร ภู่ทอง  เป็นนักวิจัย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสันติศึกษาและการจัดการความขัดแย้ง แพร ศิริศักดิ์ดำเกิงเป็นรองศาสตราจารย์ประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และวลัย บุปผา ทำงานในฐานะภัณฑารักษ์และนักออกแบบอิสระ


 
 
เลขที่ 4 ถนนสนามไชย
พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ : 02 225 2777
โทรสาร : 02 225 2775
สื่อสังคมออนไลน์

 หน้าหลัก

 เกี่ยวกับการประชุม

 กำหนดการ

 ข่าวสาร

 ระบบลงทะเบียน

 ติดต่อเรา

รูปแบบการประชุม
ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาไทย
ในการนำเสนอและการอภิปราย
โดยมีล่ามแปลภาษา
ไม่เสียค่าใช้จ่าย ในการลงทะเบียน
รองรับผู้เข้าร่วมประชุม 200 คน

 

สอบถามข้อมูล
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
อีเมล chewasit@ndmi.or.th
โทร. 02 225 2777 ต่อ 429
ฆัสรา มุกดาวิจิตร
อีเมล kusra@ndmi.or.th
โทร. 02 225 2777 ต่อ 429

 

 
Ⓒ Copyright 2015 National Discovery Museum Institute, All right Reserved.