ผู้นำเสนอ TH | EN
ผู้นำเสนอ จูเลีย คิม-เดวีส์
อีเมล j.davies@unesco.org
สังกัด สำนักงานยูเนสโกส่วนภูมิภาค ณ กรุงเทพมหานคร
คณะทำงาน -
ภาษาในการนำเสนอ ภาษาอังกฤษ
วัน/เวลา 12-09-2024 / 13:40-15:10 น.
ห้อง เลอ คองคอร์ด บอลรูม
 
ชื่อผลงาน โอกาสและความท้าทายของเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับพิพิธภัณฑ์ในยุคสมัยแห่งความท้าทาย
บทคัดย่อ

     ข้อแนะนำของยูเนสโก ค.ศ. 2015 เรื่อง "การคุ้มครองและส่งเสริมพิพิธภัณฑ์และคอลเลกชัน ความหลากหลาย และบทบาทในสังคม" ได้กำหนดกรอบหลักการและแนวทางสำหรับการวางนโยบายด้านพิพิธภัณฑ์ พร้อมทั้งเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการอนุรักษ์และสนับสนุนพิพิธภัณฑ์และคอลเลกชัน เอกสารฉบับนี้ทำหน้าที่เป็นแผนแม่บทสำหรับการพัฒนาและดำเนินการตามแนวคิดใหม่ที่เป็นนวัตกรรมและเปิดกว้างสำหรับพิพิธภัณฑ์ในศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ ยังนำเสนอแนวทางปฏิบัติแก่คนทำงานพิพิธภัณฑ์และผู้กำหนดนโยบาย เพื่อให้สามารถพัฒนาศักยภาพของพิพิธภัณฑ์ให้เป็นพื้นที่สำหรับการถ่ายทอดวัฒนธรรม การสนทนาระหว่างวัฒนธรรม การเรียนรู้ การอภิปราย และการฝึกอบรม 

     การนำเสนอนี้จะอภิปรายถึงความท้าทายและโอกาสของเทคโนโลยีดิจิทัลในบริบทของพิพิธภัณฑ์ในช่วงสถานการณ์วิกฤต โดยข้อแนะนำของยูเนสโก ค.ศ. 2015 ได้ตระหนักถึงศักยภาพของเครื่องมือดิจิทัลในการสร้างโอกาสให้กับพิพิธภัณฑ์ ทั้งในแง่การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและการแบ่งปันและเผยแพร่องค์ความรู้ ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการสนับสนุนให้พิพิธภัณฑ์สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อปรับปรุงพัฒนาภารกิจหลักของตน ทั้งนี้ ยูเนสโกได้ดำเนินการสำรวจในระดับโลกสองครั้งใน ค.ศ. 2020 และ 2021 เกี่ยวกับสถานะของพิพิธภัณฑ์ในช่วงวิกฤตสุขภาพระดับโลก รายงานดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลในบริบทของวิกฤตสุขภาพและมาตรการล็อกดาวน์ ทั้งนี้ แม้ว่าพิพิธภัณฑ์บางแห่งสามารถนำเครื่องมือดิจิทัลมาปรับใช้ได้ แต่รายงานก็ระบุว่าความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ที่ยังไม่มีการแปลงคอลเลกชันให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลและการจัดการศึกษาออนไลน์แทบจะเป็นไปไม่ได้ ถือเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการทำหน้าที่ด้านการศึกษาในช่วงที่พิพิธภัณฑ์ต้องปิดให้บริการ

     นอกจากนี้ การนำเสนอนี้จะยกกรณีศึกษา 2 กรณี เพื่อแสดงให้เห็นถึงวิธีการที่ ยูเนสโก บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับโครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อเข้าถึงและสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ชมกลุ่มใหม่ กรณีศึกษาแรกจะกล่าวถึงโครงการ "พิพิธภัณฑ์เสมือนจริงของวัตถุทางวัฒนธรรมที่ถูกโจรกรรม" ซึ่งมีเป้าหมายในการออกแบบพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงแบบสร้างความรู้สึกร่วมแห่งแรกในระดับโลกที่จัดแสดงวัตถุทางวัฒนธรรมที่ถูกโจรกรรม โครงการนี้มุ่งสร้างความตระหนักให้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับผลกระทบของการค้าสมบัติทางวัฒนธรรมที่ผิดกฎหมาย และมีส่วนช่วยในการติดตามคืนวัตถุที่ถูกโจรกรรม กรณีศึกษาที่สองนำเสนอโครงการ "มรดกร่วม: พิพิธภัณฑ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ซึ่งจัดนิทรรศการดิจิทัลนำเสนอคอลเลกชันจากพิพิธภัณฑ์ 10 แห่งใน 5 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของความเชื่อมโยงและสายสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมอันลึกซึ้งของภูมิภาค อันจะช่วยให้ภาคประชาสังคม ซึ่งรวมถึงเยาวชน เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น นำไปสู่การสร้างสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เห็นคุณค่าของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการสนทนาระหว่างวัฒนธรรม

 
ประวัติย่อ

   จูเลีย คิม-เดวีส์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านศิลปะและมรดกทางวัฒนธรรม มีพื้นฐานการศึกษาด้านการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมและการท่องเที่ยว พร้อมประสบการณ์อันยาวนานกว่า 15 ปีในการริเริ่มแนวคิดและนำทีมโครงการด้านมรดกและวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ด้วยความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการพัฒนาภาคส่วนศิลปะ งานสร้างสรรค์ และมรดกทางวัฒนธรรมสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทบาทหลักของเธอครอบคลุมการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การบริหารจัดการโครงการระดับภูมิภาค และการสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์สำหรับองค์กรด้านวัฒนธรรมและการศึกษาระดับโลก ปัจจุบัน จูเลียปฏิบัติงานในหน่วยวัฒนธรรม (Culture Unit) ณ สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพมหานคร รับผิดชอบโครงการและแผนงานที่เกี่ยวข้องกับมรดกโลก อาทิ การรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาพิพิธภัณฑ์และการต่อต้านการลักลอบค้าทรัพย์สินทางวัฒนธรรม การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ ตลอดจนโครงการริเริ่มด้านวัฒนธรรมและการศึกษาทางศิลปะ


 
 
เลขที่ 4 ถนนสนามไชย
พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ : 02 225 2777
โทรสาร : 02 225 2775
สื่อสังคมออนไลน์

 หน้าหลัก

 เกี่ยวกับการประชุม

 กำหนดการ

 ข่าวสาร

 ระบบลงทะเบียน

 ติดต่อเรา

รูปแบบการประชุม
ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาไทย
ในการนำเสนอและการอภิปราย
โดยมีล่ามแปลภาษา
ไม่เสียค่าใช้จ่าย ในการลงทะเบียน
รองรับผู้เข้าร่วมประชุม 200 คน

 

สอบถามข้อมูล
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
อีเมล chewasit@ndmi.or.th
โทร. 02 225 2777 ต่อ 429
ฆัสรา มุกดาวิจิตร
อีเมล kusra@ndmi.or.th
โทร. 02 225 2777 ต่อ 429

 

 
Ⓒ Copyright 2015 National Discovery Museum Institute, All right Reserved.