ผู้นำเสนอ TH | EN
ผู้นำเสนอ ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์
อีเมล supitcha.tovivich@gmail.com
สังกัด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะทำงาน -
ภาษาในการนำเสนอ ภาษาอังกฤษ
วัน/เวลา 13-09-2024 / 15:00-16:30 น.
ห้อง เลอ คองคอร์ด บอลรูม
 
ชื่อผลงาน การมีส่วนร่วมทางดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน: กรณีศึกษาปากคลองตลาด
บทคัดย่อ

     ในภูมิทัศน์การฟื้นฟูเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมและแรงบันดาลใจให้แก่ชุมชนท้องถิ่น การนำเสนอนี้จะสำรวจวิธีการที่นวัตกรรมดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของงานศิลปะจัดวางได้ฟื้นชีวิตให้กับปากคลองตลาด (ตลาดดอกไม้กรุงเทพฯ) และเสริมพลังให้พ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่สามารถปรับตัวและเติบโตได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินอุดหนุนจากภาครัฐ ผ่านกรณีศึกษาของปากคลองตลาด เราจะได้เห็นถึงผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีต่อชุมชน โดยงานศิลปะดิจิทัลได้ดึงดูดคนรุ่นใหม่จำนวนมากให้เข้ามาในตลาดทั้งในช่วงเทศกาลและหลังจากนั้น การเพิ่มขึ้นของผู้คนในพื้นที่นี้ได้กระตุ้นให้พ่อค้าแม่ค้าในท้องถิ่นปรับเปลี่ยนร้านค้าและกลยุทธ์การขาย เมื่อได้ตระหนักถึงประโยชน์มหาศาลจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในช่วงเทศกาล การได้เห็นและสัมผัสกับผลลัพธ์เชิงบวกโดยตรงนี้ นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติและยั่งยืน เนื่องจากผู้ค้าได้ประจักษ์ด้วยตนเองว่าการใช้เทคโนโลยีในลักษณะนี้สามารถดึงดูดลูกค้าจำนวนมากและผลักดันการเติบโตทางธุรกิจได้อย่างไร ปรากฏการณ์นี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยเฉพาะเมื่อมีการปรับใช้ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน อย่างไรก็ตาม เราต้องตระหนักว่าเทคโนโลยีที่ซับซ้อนเกินไป อาจสร้างความรู้สึกแปลกแยกให้กับคนในชุมชนได้ ในบางกรณี ความยุ่งยากของเทคโนโลยีอาจทำให้คนท้องถิ่นเลือกที่จะหลีกเลี่ยงหรือแกล้งทำเป็นไม่รู้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในโครงการฟื้นฟูเมือง ประเด็นนี้ตอกย้ำความสำคัญของการดำเนินการเพื่อให้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสามารถเข้าถึงได้ง่าย  และสอดคล้องกับความสามารถและความสนใจของชุมชน

     กรณีศึกษาปากคลองตลาดยังสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่เกิดจากปรากฏการณ์เจนทริฟิเคชัน (Gentrification) หรือการแปลงพื้นที่ที่ส่งผลกระทบทางสังคม แม้ว่าการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จะช่วยฟื้นฟูตลาดและดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ แต่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก็แฝงไว้ด้วยความเสี่ยง ที่อาจส่งผลให้พ่อค้าแม่ค้าดั้งเดิมต้องย้ายออก และทำลายอัตลักษณ์ดั้งเดิมของตลาด การไหลบ่าเข้ามาของนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง และราคาอสังหาริมทรัพย์ที่พุ่งสูงขึ้น อาจนำไปสู่ความตึงเครียดทางสังคมและกระทบต่อพลวัตของชุมชนที่มีมาแต่เดิม การอภิปรายนี้จะมุ่งนำเสนอข้อมูลเชิงลึกทั้งในแง่ความสำเร็จและความท้าทายของการผสานเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ากับโครงการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม และคำนึงถึงบริบทท้องถิ่น วิธีการนี้สามารถสร้างบรรยากาศแห่งความร่วมมือที่เพิ่มพูนทั้งมิติด้านสุนทรียภาพและเศรษฐกิจของพื้นที่เมือง ไม่เพียงแต่ฟื้นฟูตลาดอย่างปากคลองตลาดเท่านั้น แต่ยังรักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ควบคู่ไปกับการส่งเสริมนวัตกรรม ทั้งนี้ข้อมูลเชิงลึกจากการนำเสนอนี้มุ่งสร้างความเข้าใจในภาพรวม เกี่ยวกับวิธีการใช้ประโยชน์จากการมีส่วนร่วมผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น อันจะนำไปสู่การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนและครอบคลุมคนทุกกลุ่ม 

 

 
ประวัติย่อ

     ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ เป็นอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งแต่ ค.ศ. 2003 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก Bartlett Development Planning Unit (DPU) มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด บรูคส์ ดร.สุพิชชาเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรม (ค.ศ. 2015-2018) นอกจากนี้ ยังเคยเป็นประธานคณะกรรมการเครือข่ายปฏิบัติการชุมชน (ค.ศ. 2016-2018) ภายใต้สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นบรรณาธิการบริหารของวารสาร ASA และ ASA CREW (ค.ศ. 2013-2020) ดร.สุพิชชาได้รับรางวัลชนะเลิศด้านวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์สำหรับศิษย์เก่าสหราชอาณาจักร (UK Alumni Culture and Creativity Winner Award) ในประเทศไทย เมื่อ ค.ศ. 2022  ความเชี่ยวชาญของ ดร.สุพิชชา ครอบคลุมด้านการสรรค์สร้างถิ่นที่แบบมีส่วนร่วม (participatory placemaking) การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และการเปลี่ยนแปลงเมืองในระยะยาวด้วยการดำเนินงานระยะสั้น (tactical urbanism)


 
 
เลขที่ 4 ถนนสนามไชย
พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ : 02 225 2777
โทรสาร : 02 225 2775
สื่อสังคมออนไลน์

 หน้าหลัก

 เกี่ยวกับการประชุม

 กำหนดการ

 ข่าวสาร

 ระบบลงทะเบียน

 ติดต่อเรา

รูปแบบการประชุม
ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาไทย
ในการนำเสนอและการอภิปราย
โดยมีล่ามแปลภาษา
ไม่เสียค่าใช้จ่าย ในการลงทะเบียน
รองรับผู้เข้าร่วมประชุม 200 คน

 

สอบถามข้อมูล
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
อีเมล chewasit@ndmi.or.th
โทร. 02 225 2777 ต่อ 429
ฆัสรา มุกดาวิจิตร
อีเมล kusra@ndmi.or.th
โทร. 02 225 2777 ต่อ 429

 

 
Ⓒ Copyright 2015 National Discovery Museum Institute, All right Reserved.