ผู้นำเสนอ TH | EN
ผู้นำเสนอ ดร.สุชาดา คำหา
อีเมล suchada@nsm.or.th
สังกัด องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
คณะทำงาน -
ภาษาในการนำเสนอ ภาษาไทย
วัน/เวลา 13-09-2024 / 13:40-14:40 น.
ห้อง เลอ คองคอร์ด บอลรูม
 
ชื่อผลงาน ทุนธรรมชาติ: บทบาทของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ในการส่งเสริมกิจกรรมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ และการส่งเสริมความเข้าใจและสนใจในบริบททรัพยากรของชุมชน
บทคัดย่อ

      ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์มีเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัต เพื่อให้สอดคล้องกับคุณค่าของพิพิธภัณฑ์ทั้งในเชิงบทบาทและหน้าที่ ตอบโจทย์ความคาดหวังที่เกิดขึ้นใหม่ในสังคมสำหรับทุกคน (inclusive society) ประเทศไทยเผชิญหน้ากับหลายวิฤต ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และปัญหาด้านการศึกษา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ในฐานะแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม มีนโยบายในการทำงานเพื่อช่วยลดปัญหาเหล่านี้ทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ปัญหาการใช้ทรัพยากรอย่างไม่ยั่งยืนส่งผลให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ 

      โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ ร่วมมือกันระหว่าง อพวช. กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก ครู แกนนำชุมชนในพื้นที่เกาะยาวน้อย จ. พังงา เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาการขาดแคลนสื่อการเรียนวิทยาศาสตร์ และการขาดแคลนครูเฉพาะทาง เกิดกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิดการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสร้างแก่นเรื่อง (thematic approach) โดยใช้สถานที่เป็นฐาน เชื่อมโยงเนื้อหากิจกรรมเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา เน้นกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ รวมถึงการเป็นพี่เลี้ยง แนะนำครูผู้สอนในการนำต้นทุนทางธรรมชาติมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการสอนในชั้นเรียน เน้นสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้งบประมาณน้อยแต่นำไปใช้ได้จริง และส่งผลกระทบเชิงบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
 
     มากไปกว่านั้นคือการให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจประเด็นความหลากหลายด้านชีวภาพให้กับผู้นำชุมชน กลุ่มแกนนำด้านการท่องเที่ยวชุมชน ชุดข้อมูลเหล่านี้คือเครื่องมือและหัวใจสำคัญที่จะช่วยส่งเสริม สร้างสรรค์ต้ นทุนทางธรรมชาติที่มีอยู่เดิมให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยว และรู้เท่าทันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ การสร้างสะพานเชื่อมเกาะยาวน้อย-ยาวใหญ่ เป็นต้น
 
ประวัติย่อ

   ดร.สุชาดา คำหา นักวิชาการชำนาญการ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ  มีประสบการณ์การทำงาน เช่น โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยมีฐานจากความหลากหลายทางชีวภาพและธรณีวิทยา บริเวณเกาะยาวน้อย ยาวใหญ่ จ. พังงา โครงการวิจัยย่อย แหล่งซากดึกดำบรรพ์และธรณีวิทยา ชุดโครงการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สัตว์และซากดึกดำบรรพ์ในอุทยานธรณีสตูล โครงการวิจัยพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นศึกษาเรื่องสัตว์ป่าในผืนป่ามรดกโลกทางธรรมชาติป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา และโครงการของเล่นแคปซูลไดโนเสาร์ไทย: นวัตกรรมสู่การเสริมสร้างการเรียนรู้บรรพชีวินวิทยา


 
 
เลขที่ 4 ถนนสนามไชย
พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ : 02 225 2777
โทรสาร : 02 225 2775
สื่อสังคมออนไลน์

 หน้าหลัก

 เกี่ยวกับการประชุม

 กำหนดการ

 ข่าวสาร

 ระบบลงทะเบียน

 ติดต่อเรา

รูปแบบการประชุม
ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาไทย
ในการนำเสนอและการอภิปราย
โดยมีล่ามแปลภาษา
ไม่เสียค่าใช้จ่าย ในการลงทะเบียน
รองรับผู้เข้าร่วมประชุม 200 คน

 

สอบถามข้อมูล
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
อีเมล chewasit@ndmi.or.th
โทร. 02 225 2777 ต่อ 429
ฆัสรา มุกดาวิจิตร
อีเมล kusra@ndmi.or.th
โทร. 02 225 2777 ต่อ 429

 

 
Ⓒ Copyright 2015 National Discovery Museum Institute, All right Reserved.