ผู้นำเสนอ TH | EN
ผู้นำเสนอ เฟลิกซ์ พึล์ม
อีเมล f.puelm@gmail.com
สังกัด มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะทำงาน -
ภาษาในการนำเสนอ ภาษาอังกฤษ
วัน/เวลา 13-09-2024 / 10:30-12:00 น.
ห้อง เลอ คองคอร์ด บอลรูม
 
ชื่อผลงาน กลยุทธ์การสร้างความจริงแท้ในพิพิธภัณฑ์ไทย
บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้นำเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมุ่งวิเคราะห์พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษากระบวนการสร้างความจริงแท้ (authenticity) ในนิทรรศการที่คัดสรร งานวิจัยนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าความจริงแท้ถูกประกอบสร้างขึ้นอย่างมีเจตนา เพื่อสร้างความรู้สึกเฉพาะด้านความเป็นของแท้ ความน่าเชื่อถือ และความเกี่ยวข้องให้แก่ผู้เข้าชม ในการนำเสนอเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ผ่านนิทรรศการ มักมีการจำแนกความจริงแท้ออกเป็นสองรูปแบบหลัก ได้แก่ ความจริงแท้เชิงวัตถุ (object authenticity) และความจริงแท้เชิงประสบการณ์ของผู้เข้าชม (subject authenticity) หรือที่เรียกว่ารูปแบบของการเป็นพยานที่แท้จริงและรูปแบบของประสบการณ์ที่แท้จริง บนพื้นฐานนี้ ผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบความจริงแท้ 5 ประการที่ใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์  ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายของกลยุทธ์ในการสร้างความจริงแท้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความจริงแท้เชิงประจักษ์ (empirical authenticity) ซึ่งถูกนำมาใช้ในนิทรรศการเพื่อพิสูจน์และสนับสนุนเนื้อหาหรือเรื่องเล่าบางประการ โดยอาศัยวัตถุทางประวัติศาสตร์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ กลยุทธ์นี้มีบทบาทสำคัญในการทำให้เนื้อหาและกลุ่มคนชายขอบ (เช่น คนงาน ผู้ให้บริการทางเพศ ผู้อพยพ) ปรากฏชัดและเป็นพยานให้กับเรื่องราวของตนเอง ในส่วนของความจริงแท้เชิงประสาทสัมผัส (sensual authenticity) นั้น มักถูกสร้างขึ้นผ่านวัตถุทางประวัติศาสตร์ ซึ่งก่อให้เกิดการเชื่อมโยงเชิงพลังงาน (auratic connection) ที่พิเศษระหว่างวัตถุจัดแสดงและผู้เข้าชม กระบวนการนี้สามารถสร้างความน่าเชื่อถือทางอารมณ์ที่มีลักษณะพิเศษได้  สำหรับความจริงแท้เชิงการสื่อสาร (communicative authenticity) นั้น ทำหน้าที่ในการสร้างโลกจินตนาการผ่านภาษาที่เข้าใจง่าย ภาพที่คุ้นเคย และฉากหลังที่สร้างบรรยากาศ องค์ประกอบเหล่านี้เชื่อมโยงกับประสบการณ์ของผู้เข้าชม ส่งผลให้เกิดการรับรู้ถึงความเป็นจริงและความน่าเชื่อถือเป็นพิเศษ ทั้งนี้ ในรูปแบบของความจริงแท้เชิงประสบการณ์ (experience authenticity) ผู้เข้าชมถือเป็นศูนย์กลางสำคัญ โดยผู้เข้าชมจะมีโอกาสได้ตีความและทำความเข้าใจเนื้อหาที่นำเสนอด้วยตนเอง ผ่านการลงมือทำและประสบการณ์ของตนโดยตรง ขณะที่ในรูปแบบของความจริงแท้เชิงวิพากษ์ (critical authenticity) นั้น มุ่งเน้นการเปิดเผยลักษณะเชิงประกอบสร้าง (constructive character) ของนิทรรศการทางประวัติศาสตร์ ควบคู่ไปกับการถอดรื้อ (deconstruct) เรื่องเล่าและสมมติฐานที่เป็นที่รู้จักกันดี วิธีการนี้สามารถสร้างความน่าเชื่อถือเชิงวิพากษ์ (critical credibility) ที่มีลักษณะพิเศษให้กับนิทรรศการได้

 
ประวัติย่อ

     เฟลิกซ์ พึลม์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์สาธารณะ จากมหาวิทยาลัยเสรีแห่งเบอร์ลิน (Free University of Berlin) และปัจจุบันกำลังศึกษาระดับปริญญาเอก ณ สถาบันเดียวกัน งานวิจัยของเขามุ่งเน้นสองประเด็นหลัก ประเด็นแรก คือการศึกษาวัฒนธรรมแห่งความทรงจำและการประยุกต์ใช้ประวัติศาสตร์เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ ประการที่สอง คือการวิเคราะห์บทบาทของพิพิธภัณฑ์ในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์และการมีส่วนร่วมในวาทกรรมทางสังคม เฟลิกซ์อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลามากกว่าสิบปี และปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมและนิทรรศการในด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และภาษา ร่วมกับสถาบันต่าง ๆ 


 
 
เลขที่ 4 ถนนสนามไชย
พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ : 02 225 2777
โทรสาร : 02 225 2775
สื่อสังคมออนไลน์

 หน้าหลัก

 เกี่ยวกับการประชุม

 กำหนดการ

 ข่าวสาร

 ระบบลงทะเบียน

 ติดต่อเรา

รูปแบบการประชุม
ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาไทย
ในการนำเสนอและการอภิปราย
โดยมีล่ามแปลภาษา
ไม่เสียค่าใช้จ่าย ในการลงทะเบียน
รองรับผู้เข้าร่วมประชุม 200 คน

 

สอบถามข้อมูล
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
อีเมล chewasit@ndmi.or.th
โทร. 02 225 2777 ต่อ 429
ฆัสรา มุกดาวิจิตร
อีเมล kusra@ndmi.or.th
โทร. 02 225 2777 ต่อ 429

 

 
Ⓒ Copyright 2015 National Discovery Museum Institute, All right Reserved.