เวทีเสวนา | TH | EN |
หัวข้อเสวนา | การสำรวจขอบเขตพรมแดนทางการเงินในการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ | |||||
ผู้ดำเนินรายการ | ลักขณา คุณาวิชยานนท์ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร | |||||
ชื่อผลงาน | เวทีเสวนานี้ มุ่งสำรวจประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนทางการเงิน และการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในแวดวงพิพิธภัณฑ์ คณะผู้นำเสนอจะร่วมแลกเปลี่ยนกลยุทธ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ และแบ่งปันแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้สามารถในการดำเนินงานอย่างยั่งยืนในระยะยาว เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร ตลอดจนพัฒนาช่องทางสร้างรายได้ผ่านแนวทางที่สร้างสรรค์ - การจัดการข้อจำกัดด้านงบประมาณผ่านการระดมทุน - เอ็มมานูอิล ทซานส์ เอ็มมานูอิล ทซานส์ จากพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ อาบูดาบี จะอภิปรายถึงความสำคัญของการพัฒนากลยุทธ์การระดมทุนที่มีประสิทธิภาพเพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดด้านงบประมาณ โดยจะมุ่งเน้นไปที่วิธีการใช้เครื่องมือระดมทุนที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ และการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ซึ่งสามารถช่วยให้พิพิธภัณฑ์สามารถข้ามพ้นข้อจำกัดทางการเงินและขยายขอบเขตกิจกรรมได้ - พิพิธภัณฑ์กับความยืดหยุ่นทางการเงิน: กลยุทธ์สู่การดำเนินงานอย่างยั่งยืน และการบริหารทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด - ปานจิตต์ พิชิตกุล ปานจิตต์ พิชิตกุล จะสำรวจกลยุทธ์การสร้างความยืดหยุ่นทางการเงินให้กับพิพิธภัณฑ์ ผ่านการกระจายแหล่งรายได้ การเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างต้นทุน และการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย โดยจะเน้นย้ำถึงบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในการเปิดโอกาสสร้างรายได้รูปแบบใหม่ พร้อมทั้งเน้นย้ำความสำคัญของการวางแผนทางการเงินเชิงกลยุทธ์ - การทบทวนบทบาทของร้านค้าพิพิธภัณฑ์ในบริบทของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ - ดร. ซอล์ ฮอง เซอร์ ดร. ซอล์ ฮอง เซอร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะวิเคราะห์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงบทบาทของร้านค้าพิพิธภัณฑ์ ในบริบทของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยจะอภิปรายถึงวิธีการปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับร้านค้าพิพิธภัณฑ์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับพิพิธภัณฑ์ ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการเชิงสร้างสรรค์ และกระตุ้นการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในภูมิภาค ภาษาในการนำเสนอ: ภาษาอังกฤษ
|
|||||
ประวัติย่อผู้ดำเนินรายการ | ลักขณา คุณาวิชยานนท์ เป็นบุคคลสำคัญในวงการศิลปะของไทย มีชื่อเสียงในด้านผลงานที่โดดเด่นในการส่งเสริมวงการศิลปะในประเทศ ในฐานะผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด ลักขณามีบทบาทสำคัญในการผลักดันการเติบโตของหอศิลป์ฯ และวางรากฐานสำคัญให้สถาบันแห่งนี้เติบโตจนกลายเป็นศูนย์กลางแห่งชีวิตทางวัฒนธรรมของมหานคร ภายใต้วิสัยทัศน์ของลักขณา BACC ได้เฟื่องฟูและเป็นเวทีสำหรับการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมสำคัญมากมายที่ช่วยยกระดับสถานะของศิลปะร่วมสมัยของไทยในเวทีโลก ปัจจุบัน ลักขณายังคงมีบทบาทในการกำหนดทิศทางอนาคตของวงการศิลปะในฐานะกรรมการบริหารมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อให้สถาบันทางวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งนี้ยังคงประสบความสำเร็จ และสร้างสรรค์นวัตกรรมต่อไป |
|||||