เกี่ยวกับการประชุม  
   

          The ASEAN Museum Forum 2024, themed 'เวทีพิพิธภัณฑ์อาเซียน 2024 จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "ความท้าทายร่วมสมัยและนวัตกรรมในพิพิธภัณฑ์" โดยมุ่งเน้นการอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นสำคัญที่พิพิธภัณฑ์กำลังเผชิญในยุคปัจจุบัน อาทิ ข้อจำกัดด้านงบประมาณ ความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล ความละเอียดอ่อนทางวัฒนธรรม ความซับซ้อนทางกฎหมาย ตลอดจนประเด็นด้านสุขภาพและความปลอดภัย เวทีนี้จะเป็นพื้นที่สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านพิพิธภัณฑ์ นักวิชาการ นักเทคโนโลยี และผู้นำชุมชน ในการร่วมอภิปรายเกี่ยวกับความท้าทายเหล่านี้ รวมทั้งแบ่งปันองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนแนวคิดที่เป็นนวัตกรรมใหม่ โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่พิพิธภัณฑ์จะต้องปรับตัวให้สอดรับกับพลวัตทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีนวัตกรรมถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับความอยู่รอดและการพัฒนาของพิพิธภัณฑ์ต่อไปในอนาคต การประชุมครั้งนี้จะมีการนำเสนอนวัตกรรมในหลากหลายมิติ ทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม ตลอดจนการใช้แนวทางใหม่ๆ ในการบริหารจัดการและการให้ความรู้ ด้วยการส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมเชิงรุกของชุมชน เวทีนี้จะกระตุ้นให้พิพิธภัณฑ์ก้าวข้ามกรอบความคิดแบบเดิม และนำวิธีการที่เหมาะสมมาปรับใช้เพื่อรับมือกับความท้าทายร่วมสมัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เวทีดังกล่าวจะนำเสนอผลงานวิจัย กรณีศึกษา และกลยุทธ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในการปรับตัวของพิพิธภัณฑ์ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงผ่านการปาฐกถาและการเสวนาหลากหลายหัวข้อ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้พิพิธภัณฑ์ยังคงมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม พร้อมกับการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ชุมชน และสังคมร่วมสมัย


เวทีดังกล่าวจะนำเสนอผลงานวิจัย กรณีศึกษา และกลยุทธ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในการปรับตัวของพิพิธภัณฑ์ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงผ่านการปาฐกถาและการเสวนาหลากหลายหัวข้อ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้พิพิธภัณฑ์ยังคงมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม พร้อมกับการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ชุมชน และสังคมร่วมสมัย

กำหนดการ

 

กำหนดการประชุมวันที่ 12 กันยายน 2567

13 กันยายน 2567 >>
เวลา เลอ คองคอร์ด บอลรูม ห้องกฤษณาและห้องราชาวดี
09:00-09:30 ลงทะเบียน  
09:30-09:50 พิธีเปิด  
09:50-10:10

ปาฐกถา 1:  มุมมองของยูเนสโกต่อการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ หลังการแพร่ระบาด ของโควิด-19
องค์ปาฐก:
ดร.เฟิง จิ้ง
หัวหน้าแผนกวัฒนธรรม สำนักงานยูเนสโกส่วนภูมิภาค กรุงเทพมหานคร

 
10:10-10:30 พักรับประทานอาหารว่าง  
10:30-12:00

เวทีเสวนา 1: กลยุทธ์การจัดการวิกฤตในพิพิธภัณฑ์ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
ผู้ดำเนินรายการ:
มนทกานติ์ สุวรรณทรรภ กิตติไพศาลศิลป์
สำนักงานยูเนสโกส่วนภูมิภาค กรุงเทพมหานคร

- การอนุรักษ์และการจัดแสดงอย่างยั่งยืนในช่วงการแพร่ระบาด ของโควิด-19: นิทรรศการภาพถ่ายระบายสีในภูมิอากาศแบบร้อนชื้น - นีนา ดูเอญญัส

- พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติเวียดนามในช่วงวิกฤต - ความท้าทายและโอกาส - เหงียน ถิ ดิญห

- การส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง - ดร.พรพรรณ พิชัย

เวทีเสวนา 2: การสำรวจขอบเขตพรมแดนทางการเงินในการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์
ผู้ดำเนินรายการ:
ลักขณา คุณาวิชยานนท
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)

- การจัดการข้อจำกัดด้านงบประมาณผ่านการระดมทุน - เอ็มมานูอิล ทซานส์

- พิพิธภัณฑ์กับความยืดหยุ่นทางการเงิน: กลยุทธ์สู่การดำเนินงานอย่างยั่งยืนและการบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด - ปานจิตต์ พิชิตกุล

- การทบทวนบทบาทของร้านค้าพิพิธภัณฑ์ในบริบทของอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ - ดร.ซอล์ ฮอง เซอร์

12:00-13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน  
13:00-13:20 น. ปาฐกถา 2: การเตรียมพร้อมรับมือภาวะวิกฤตในพิพิธภัณฑ์
องค์ปาฐก: 
เป่ย-อิน ซื่อ

พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ
 
13:20-13:40 น. ปาฐกถา 3: ผู้ช่วยเสมือนจริงในรูปแบบแชทบอทสำหรับพิพิธภัณฑ์: เรื่องราวของแชทบอท “น้องน้ำดอกไม้”
องค์ปาฐก: 
ผศ.ดร.สุคนธ์เมธ จิตรมหันตกุล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
13:40-15:10 น.

เวทีเสวนา 3:  การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับพิพิธภัณฑ์
ผู้ดำเนินรายการ:
ผศ.ดร.นพดล กิตนะ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- การพัฒนาแอปพลิเคชัน NSM AR: ช่องทางเข้าถึงแบบดิจิทัล สำหรับทุกคน  - อานุภาพ สกุลงาม

- โอกาสและความท้าทายของเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับพิพิธภัณฑ์ ในยุคสมัยแห่งความท้าทาย - จูเลีย คิม-เดวีส

- กรณีศึกษาเรื่องการแปลงข้อมูลคอลเลกชันผึ้งไทยในพิพิธภัณฑ์ ธรรมชาติวิทยาให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล - ภากร
นลินรชตกัญจน์

เวทีเสวนา 4: นวัตกรรมในการนำเสนอเรื่องเล่าทางวัฒนธรรม
ผู้ดำเนินรายการ:
ดร.นันทมนต์ กู้ตลาด
มหาวิทยาลัยมหิดล

- อาซิน ทิบวก: การนำเสนอมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในนิทรรศการพิพิธภัณฑ์  - ออเดรย์ ดอว์น เอ็ม. โทมาดา

- การส่งเสริมการเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรมทางทะเล และมรดก ทางวัฒนธรรมใต้น้ำสู่สาธารณชนผ่านนิทรรศการและการให้ความรู้ ด้วยเทคนิคดิจิทัลในพิพิธภัณฑ์การเดินเรือ 
-
จอง ยอง-ฮวา

- กิจกรรมส่งเสริม สนับสนุนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย สำหรับผู้สูงวัย - ดิษพล มาตุอำพันวงศ์

15:10-15:30 น. พักรับประทานอาหารว่าง  
15:30-17:00 น.

เวทีเสวนา 5:  การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับพิพิธภัณฑ์- การเตรียมความพร้อมและบริบทของไทย         
ผู้ดำเนินรายการ:
ดิษพงศ์ เนตรล้อมวงศ์

สำนักพิพิธภัณฑสถานเเห่งชาติ

- ความท้าทายร่วมสมัยและนวัตกรรมในพิพิธภัณฑ์กรณีศึกษาแผนรับมืออุทกภัยในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี - ดวงใจ พิชิตณรงค์ชัย

- โอกาสในวิกฤต: การฟื้นฟูพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิม
พระเกียรติหลังน้ำท่วมใหญ่ - 
รศ.ดร.พจนก กาญจนจันทร

- DRM ของมันต้องมี - ชลิดา เอื้อบำรุงจิต

เวทีเสวนา 6: การทำความเข้าใจมรดกทางวัฒนธรรมด้วยกรอบแนวคิดใหม่: การมีส่วนร่วมกับชุมชนการส่งคืนมรดกทางวัฒนธรรม และการสร้างสันติภาพ
ผู้ดำเนินรายการ:
ดร.อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- สู่ระดับรากหญ้า: การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการก่อตั้ง และบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ - มาเรีย เซซิเลีย บี.
คาบาเญส

- การส่งคืนมรดกทางวัฒนธรรมสู่ถิ่นกำเนิดสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ได้อย่างไร?
คริสทีน เบ็กลีย์

- สถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรง ความทรงจำที่ไม่อาจลบเลือน และความเป็นไปได้ของพิพิธภัณฑ์เพื่อสันติภาพ: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุจังหวัดชายแดนใต้ - ภัทรภร ภู่ทอง

 

 
 
เลขที่ 4 ถนนสนามไชย
พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ : 02 225 2777
โทรสาร : 02 225 2775
สื่อสังคมออนไลน์

 หน้าหลัก

 เกี่ยวกับการประชุม

 กำหนดการ

 ข่าวสาร

 ระบบลงทะเบียน

 ติดต่อเรา

รูปแบบการประชุม
ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาไทย
ในการนำเสนอและการอภิปราย
โดยมีล่ามแปลภาษา
ไม่เสียค่าใช้จ่าย ในการลงทะเบียน
รองรับผู้เข้าร่วมประชุม 200 คน

 

สอบถามข้อมูล
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
อีเมล chewasit@ndmi.or.th
โทร. 02 225 2777 ต่อ 429
ฆัสรา มุกดาวิจิตร
อีเมล kusra@ndmi.or.th
โทร. 02 225 2777 ต่อ 429

 

 
Ⓒ Copyright 2015 National Discovery Museum Institute, All right Reserved.