เวทีเสวนา |
หัวข้อเสวนา | การทำความเข้าใจมรดกทางวัฒนธรรมด้วยกรอบแนวคิดใหม่: การมีส่วนร่วมกับชุมชน การส่งคืนมรดกทางวัฒนธรรม และการสร้างสันติภาพ | |||||
ผู้ดำเนินรายการ | ดร.อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |||||
ชื่อผลงาน |
เวทีเสวนานี้เป็นการสำรวจแนวทางใหม่ๆ ในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ความซับซ้อนของการส่งคืนมรดกทางวัฒนธรรม และบทบาทของพิพิธภัณฑ์ในการสร้างสันติภาพ วิทยากรจะนำเสนอกรณีศึกษาและกลยุทธ์ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพอันทรงพลังของพิพิธภัณฑ์ในการเป็นแรงขับเคลื่อนเพื่อรักษาความต่อเนื่องทางวัฒนธรรม ส่งเสริมความยุติธรรม และเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม - สู่ระดับรากหญ้า: การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการก่อตั้งและบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ - มาเรีย เซซิเลีย บี. คาบาเญส
มาเรีย เซซิเลีย บี. คาบาเญส จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติฟิลิปปินส์ นำเสนอกรณีศึกษาเกี่ยวกับจะเกี่ยวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในเซบูที่เพิ่งเปิดใหม่ โดยการนำเสนอนี้จะเน้นให้เห็นว่าการมีส่วนร่วมระดับรากหญ้าและการมีส่วนร่วมของชุมชนมีบทบาทสำคัญอย่างไรในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ ซึ่งช่วยสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ ความภาคภูมิใจ และอัตลักษณ์ให้แก่ชุมชนท้องถิ่น - การส่งคืนวัตถุทางวัฒนธรรมสู่ถิ่นกำเนิดสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ได้อย่างไร? - คริสทีน เบ็กลีย์ คริสทีน เบ็กลีย์ จากบริษัท ฮูรอน | จีจี+เอ โกลบอล ฟิลแอนโทรปี จะอภิปรายถึงแง่มุมปฏิบัติและความท้าทายของการส่งคืนวัตถุทางวัฒนธรรมสู่ถิ่นกำเนิด การนำเสนอนี้จะวิเคราะห์ว่าวัตถุที่ถูกส่งคืนสามารถสร้างแรงบันดาลใจและให้ความรู้แก่ชุมชนทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก ก่อให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ และนำไปสู่นวัตกรรมของพิพิธภัณฑ์ได้อย่างไร นอกจากนี้ การนำเสนอจะอภิปรายถึงความรับผิดชอบที่พิพิธภัณฑ์ในโลกตะวันตกพึงมีอย่างต่อเนื่องในกระบวนการส่งคืนวัตถุทางวัฒนธรรมสู่ถิ่นกำเนิด สถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรง ความทรงจำที่ไม่อาจลบเลือน และความเป็นไปได้ของพิพิธภัณฑ์เพื่อสันติภาพ: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุจังหวัดชายแดนใต้ - ภัทรภร ภู่ทอง ภัทรภร ภู่ทอง จากโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุจังหวัดชายแดนใต้ จะนำเสนอการศึกษาเกี่ยวกับศักยภาพของพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุในฐานะเครื่องมือส่งเสริมความยุติธรรมและสร้างสันติภาพในพื้นที่ความขัดแย้ง โดยใช้เหตุการณ์สังหารหมู่ที่เกิดขึ้นในอำเภอตากใบเมื่อ ค.ศ. 2004 เป็นกรณีศึกษา การนำเสนอนี้จะเน้นย้ำถึงความท้าทายและความสำเร็จในการทำให้เสียงของผู้เสียหายจากเหตุการณ์ความรุนแรงดังขึ้น ตลอดจนสร้างพื้นที่สนทนาเกี่ยวกับประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ภาษาในการนำเสนอ: ภาษาอังกฤษ
|
|||||
ประวัติย่อผู้ดำเนินรายการ |
ดร.อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์วิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ซึ่งได้รับการฝึกอบรมด้านโบราณคดีภาคสนาม พิพิธภัณฑ์วิทยาและการพัฒนาสังคม รวมถึงประวัติศาสตร์ศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดร. อุดมลักษณ์ มีประสบการณ์การทำงานภาคสนามทางโบราณคดีในประเทศไทยอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมที่ราบสูงและที่ราบลุ่มในช่วงปลายสหัสวรรษที่หนึ่งและต้นสหัสวรรษที่สองโดยอาศัยหลักฐานจากวัฒนธรรมทางวัตถุเป็นสำคัญ ผลงานตีพิมพ์ของ ดร. อุดมลักษณ์มุ่งเน้นมุมมองเชิงวิพากษ์ในงานด้านโบราณคดี มรดกทางวัฒนธรรม และพิพิธภัณฑ์วิทยา ปัจจุบัน ดร. อุดมลักษณ์ ยังเป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
|||||